เมนู

น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์มากกว่า
กว่ายัญสมบัติ 3 ประการ ซึ่งมีบริวาร 16 นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูล
ยัญ กว่าวิหารทาน กว่าสรณคมน์ และกว่าสิกขาบทเหล่านี้เป็นไฉน.
ดูก่อนพราหมณ์ พระตถาคต เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯ ล ฯ [พึงดูพิสดารในสามัญญผลสูตร] ฯ ล ฯ ดูก่อน
พราหมณ์ ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยประการนี้แล. ภิกษุเข้าถึงปฐมฌาน
อยู่. ดูก่อนพราหมณ์ ยัญนี้แล ใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า
มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์มากกว่า ยัญทั้งหลายข้างต้น. ทุติยฌาน.
ตติยฌาน. เธอเข้าถึงจตุตถฌานอยู่. ดูก่อนพราหมณ์ ยัญแม้นี้แล ใช้
ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์
มากกว่า กว่ายัญทั้งหลายข้างต้น. เธอย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อญาณ-
ทัสนะ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนพราหมณ์ ยัญนี้แล
ใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์
มากกว่า ว่ายัญก่อนๆ ดูก่อนพราหมณ์ ยัญสมบัติอื่นที่ดีกว่า หรือประณีต
กว่า กว่ายัญสมบัตินี้ไม่มี.

กูฏทันตพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก


[236] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาอย่างนี้แล้ว
กูฏทันตพราหมณ์ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต
ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็น
รูป ดังนี้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรม โดยอเนกปริยาย
ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ ทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะอย่างมอบกายถวายชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ได้ปล่อยโคผู้ 700 ตัว ลูกโคผู้ 700 ตัว
ลูกโคเมีย 700 ตัว แพะ 700 ตัว แกะ 700 ตัว ได้ให้ชีวิตแก่สัตว์
เหล่านั้น ขอสัตว์เหล่านั้นจงได้กินหญ้าเขียวสด จงได้ดื่มน้ำเย็น ขอลมที่
เย็นจงพัดถูกสัตว์เหล่านั้นเถิด.

กูฏทันตพราหมณ์บรรลุโสดาปัตติผล


[237] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอนุปุพพิกถาแก่
กูฏทันตพราหมณ์ คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของ
กามที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์การออกจากกาม เมื่อทรงทราบว่า
กูฏทันตพราหมณ์ มีจิตควร มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตร่า เริง
มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โปรด
กูฏทันตพราหมณ์ เปรียบเหมือนผ้าที่สะอาด ปราศจากสีดำ ควรรับน้ำ
ย้อมได้เป็นอย่างดี ฉันใด กูฏทันตพราหมณ์ฉันนั้น ได้ดวงตาเห็นธรรม
อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั้นนั่นเอง. ลำดับนั้น กูฏ-
ทันตพราหมณ์เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว หยั่งทราบถึงธรรม